วันพฤหัสบดีที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2557

Introduce Myself


Hello! My name is Nunthiya Garasri. You can call me Jeab.
My student ID is 5411114010.
I am study at Nakhon Si Thammarat Rajbhat University. Majoring in English Education. 
My birthday is on 27th December 1992. I am 20 years old.
My hometown is Nakhon Si Thammarat province. I love to be here!
I am Thai and I am a Buddist.
My hobbies are playing basketball, chatting on Facebook with my friends and shopping with my mother.
I am friendly and funny.
You can say Hi! and be friend wiht me on facebook
( Nunthiya  Garasri )
or you can contact  jiabjiab143@gmail.com.
Nice to meet you.

วันจันทร์ที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2556

What is CAI ?


CAI ย่อมาจากคำว่า COMPUTER-ASSISTED หรือ AIDED INSTRUCTION

         คอมพิวเตอร์ช่วยสอน (CAI) หมายถึง สื่อการเรียนการสอนทางคอมพิวเตอร์รูปแบบหนึ่ง ซึ่งใช้ความสามารถของคอมพิวเตอร์ในการนำเสนอสื่อประสมอันได้แก่ ข้อความ ภาพนิ่ง กราฟิก แผนภูมิ กราฟ วิดีทัศน์ ภาพเคลื่อนไหว และเสียง เพื่อถ่ายทอดเนื้อหาบทเรียน หรือองค์ความรู้ในลักษณะที่ ใกล้เคียงกับการสอนจริงในห้องเรียนมากที่สุด
       โดยมีเป้าหมายที่สำคัญก็คือ สามารถดึงดูดความสนใจของผู้เรียน และกระตุ้นให้เกิดความต้องการที่ จะเรียนรู้ คอมพิวเตอร์ช่วยสอนเป็นตัวอย่างที่ดีของสื่อการศึกษาในลักษณะตัวต่อตัว ซึ่งผู้เรียนเกิดการเรียนรู้จากการมีปฏิสัมพันธ์ หรือการโต้ตอบพร้อมทั้งการได้รับผลป้อนกลับ (FEEDBACK) นอกจากนี้ยังเป็นสื่อ ที่สามารถตอบสนองความแตกต่างระหว่างผู้เรียนได้เป็นอย่างดี รวมทั้งสามารถที่จะประเมิน และตรวจสอบความเข้าใจของผู้เรียนได้ตลอดเวลา

ประเภทของ CAI

1. สอนเนื้อหารายละเอียด (Tutorials)

      โปรแกรมช่วยสอนเนื้อหารายละเอียด หมายถึงโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ช่วยให้นักเรียน
ได้ เรียนรู้ เนื้อหาหรือหลักการใหม่ๆ ด้วยการเสนอเนื้อหาและคำถามคำตอบระหว่างบทเรียน
และนักเรียน โปรแกรมจะแสดงเนื้อหาที่จะสอนแล้วตั้งคำถามให้ นักเรียนตอบต่อจากนั้น
โปรแกรมจะวิเคราะห์คำตอบแล้วตัดสินว่า จะแสดงเนื้อหาต่อไปหรือให้นักเรียนตอบคำถามใหม่ หรือจะแสดงคำอธิบายเนื้อหาเพิ่มเติม และโปรแกรมช่วยสอนนี้ยังรวมถึงวิธีการแนะนำให้
นักเรียนตัดสินใจแก้ปัญหาอย่างใดอย่างหนึ่ง ด้วยการให้แนวทางแก่นักเรียนเพื่อเลือกคำตอบ
ที่ถูกต้อง 

2. การฝึกทักษะ (Drill and Practice)

      หลังจากที่นักเรียนได้เรียนเนื้อหารายละเอียดแล้ว สิ่งจำเป็นคือการมีโอกาสได้ฝึกทักษะ
หรือฝึกปฏิบัติซ้ำๆ เพื่อที่จะนำความรู้ ที่ได้เรียนแล้วไปใช้ได้อย่างคล่องแคล่วรวดเร็วหรือ
ที่เรียกกันว่าใช้ได้โดยอัตโนมัติ 

3. การจำลองสถานการณ์ (Simulations)

      โปรแกรมการจำลองสถานการณ์ในการเรียนการสอน เป็นวิธีการเลียนแบบ
หรือสร้างสถานการณ์เพื่อทดแทนสภาพจริงในชีวิตประจำวัน สำหรับการเรียนรู้ในชั้นเรียนเพื่อสร้างแรงจูงใจให้นักเรียน

 4. เกมการสอน (Instructional games)

      การใช้โปรแกรมเกมเพื่อการสอนกำลังเป็นที่นิยมใช้กันมาก เนื่องจากเป็นสิ่ง
ที่ท้าทายความมานะพยายามและสามารถกระตุ้นนักเรียนให้เกิดความอยากเรียนรู้ได้
โดยง่าย นอกจากนี้การใช้เกมยังช่วยเพิ่มบรรยากาศในการเรียนรู้ให้ดีขึ้นเนื่องจากมีภาพ
แสงสี เสียงและ กราฟิกที่ มีการเคลื่อนไหวได้ จึงทำให้นักเรียนตื่นตัวอยู่เสมอ รูปแบบของ
โปรแกรมเกมเพื่อการสอนคล้ายคลึงกับโปรแกรมบทเรียนสถานการณ์จำลองแต่แตกต่างกัน
โดยการเพิ่มบทบาทของนักเรียนเข้าไปในการใช้โปรแกรมเกมการสอนด้วย

5. การสาธิต (Demonstration)

      โปรแกรมการสาธิต มีจุดประสงค์ เพื่อสาธิตประกอบการสอน หรือบรรยายเนื้อหาหัวข้อใดหัวข้อหนึ่งเพื่อช่วยผู้เรียนให้เข้าใจสิ่งที่เรียนได้ดียิ่งขึ้น

6. การแก้ปัญหา (Problem - Solving)

      เป็นบทเรียนสำหรับใช้เรียนรู้และการคิดแก้ปัญหา การตัดสินใจ โดยมีการกำหนด
เกณฑ์ให้แล้วให้ นักเรียนพิจารณาตามโปรแกรมนั้น โปรแกรมเพื่อให้ การแก้ปัญหาแบ่ง
ได้เป็น 2 ชนิด คือ โปรแกรมที่ให้นักเรียนเขียนเอง และโปรแกรมที่มีผู้เขียนไว้แล้วเพื่อช่วย
นักเรียนในการแก้ปัญหาโดยที่คอมพิวเตอร์จะช่วยในการคิดคำนวณและหาคำตอบ
ที่ถูกต้องให้ในกรณีนี้คอมพิวเตอร์จึงเป็นเครื่องช่วยเพื่อให้นักเรียนบรรลุถึงทักษะของการ
แก้ไขปัญหาโดยการคำนวณข้อมูลและจัดการสิ่งที่ยุ่งยากซับซ้ อนให้แต่ถ้าเป็นการแก้ปัญหา
โดยใช้โปรแกรมที่มีผู้เขียนไว้แล้วคอมพิวเตอร์จะทำการคำนวณในขณะที่นักเรียน
เป็นผู้จัดการกับปัญหาเหล่านั้นเอง โปรแกรมลักษณะนี้นักเรียนจะให้ความสนใจและตั้งใจมาก
ถ้าได้รับแรงจูงใจและสิ่งเร้าในการเรียน ทำให้นักเรียนรู้สึกสนุกและเกิดความท้าทาย
และมีความพยายามที่จะแก้ปัญหาต่อไป

7. การทดสอบ (Tests)

      การใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์เพื่อการทดสอบ มี บทบาทในการเป็นเครื่องมือประเมินผล
การเรียนของนักเรียนทั้งก่อนเริ่มเรียน ระหว่างเรียนและหลังการเรียน อีกทั้งยังช่วยให้ผู้สอน
มีความรู้สึกเป็นอิสระจากการกฎเกณฑ์ต่างๆที่เกี่ยวกับการทดสอบอีกด้วยเนื่องจากคอมพิวเตอร์
ช่วยเปลี่ยนแปลงการทดสอบแบบเดิมๆให้สามารถมีปฏิสัมพันธ์กับนักเรียนได้โดยอาจจะให้ผล
ย้อนกลับโดยทันทีหรือประเมินผลหลังจากทำแบบทดสอบเสร็จ

8. ระบบผู้เชี่ยวชาญ (Expert System)

      ระบบผู้เชี่ยวชาญ เป็นโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่มีความสามารถในการแก้ปัญหาเฉพาะ
เรื่องโดยใช้หลักปัญญาประดิษฐ์หรือ AI (Artificial Intelligence) และวิธีการฐานความรู้
(Knowledge Base) มาใช้ เพื่อจัดเตรียม เก็บข้อมูล และข้ อเท็จจริง(Facts)โดยใช้ความรู้

คุณลักษณะสำคัญของคอมพิวเตอร์ช่วยสอน (CAI)

คุณลักษณะที่เป็นองค์ประกอบสำคัญของคอมพิวเตอร์ช่วยสอน 4 ประการ ได้แก่

1. สารสนเทศ (Information) หมายถึง เนื้อหาสาระที่ได้รับการเรียบเรียง ทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ หรือได้รับทักษะอย่างหนึ่งอย่างใดตามที่ผู้สร้างได้กำหนดวัตถุประสงค์ไว้ การนำเสนออาจเป็นไปในลักษณะทางตรง หรือทางอ้อมก็ได้ ทางตรงได้แก่ คอมพิวเตอร์ช่วยสอนประเภทติวเตอร์ เช่นการอ่าน จำ ทำความเข้าใจ ฝึกฝน ตัวอย่าง การนำเสนอในทางอ้อมได้แก่ คอมพิวเตอร์ช่วยสอนประเภทเกมและการจำลอง

2. ความแตกต่างระหว่างบุคคล (Individualization) การตอบสนองความแตกต่างระหว่างบุคคล คือลักษณะสำคัญของคอมพิวเตอร์ช่วยสอน บุคคลแต่ละบุคคลมีความแตกต่างกันทางการเรียนรู้ คอมพิวเตอร์ช่วยสอน เป็นสื่อประเภทหนึ่งจึงต้องได้รับการออกแบบให้มีลักษณะที่ตอบสนองต่อความแตกต่างระหว่างบุคคลให้มากที่สุด

3. การโต้ตอบ (Interaction) คือการมีปฏิสัมพันธ์กันระหว่างผู้เรียนกับคอมพิวเตอร์ช่วยสอนการเรียน การสอนรูปแบบที่ดีที่สุดก็คือเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้มีปฏิสัมพันธ์กับผู้สอนได้มากที่สุด

4.การให้ผลป้อนกลับโดยทันที (Immediate Feedback) ผลป้อนกลับหรือการให้คำตอบนี้ถือเป็นการ เสริมแรงอย่างหนึ่ง การให้ผลป้อนกลับแก่ผู้เรียนในทันทีหมายรวมไปถึงการที่คอมพิวเตอร์ช่วยสอนที่สมบูรณ์จะต้องมีการ ทดสอบหรือประเมินความเข้าใจของผู้เรียนในเนื้อหาหรือทักษะต่าง ๆ ตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้

ประโยชน์ของคอมพิวเตอร์ช่วยสอน (CAI)

1. ช่วยให้ผู้เรียนที่เรียนอ่อน สามารถใช้เวลานอกเวลาเรียนในการฝึกฝนทักษะ และเพิ่มเติมความรู้ เพื่อ     ปรับปรุงการเรียนของตน

2. ผู้เรียนสามารถนำคอมพิวเตอร์ช่วยสอนไปใช้ในการเรียนด้วยตนเองในเวลา และสถานที่ที่สะดวก

3. คอมพิวเตอร์ช่วยสอนสามารถที่จะจูงใจผู้เรียนให้เกิดความกระตือรือร้น สนุกสนานไปกับการเรียน

ข้อพึงระวังของการใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอน

* ผู้สอนจะต้องมีความพร้อม ความชำนาญในการสอนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน

* ผู้สอนควรมีการวางแผน และเตรียมความพร้อมให้แก่ผู้เรียนให้รอบคอบ ก่อนนำคอมพิวเตอร์ช่วย        สอนไปใช้อย่างเหมาะสม

* การผลิตคอมพิวเตอร์ช่วยสอนที่ได้มาตรฐานเป็นสิ่งสำคัญมาก หากคอมพิวเตอร์ช่วยสอนไม่ได้รับ     การออกแบบอย่างเหมาะสม จะทำให้ผู้เรียนรู้สึกเบื่อหน่ายและไม่ต้องการใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอนนั้น 

* ผู้ที่สนใจสร้างคอมพิวเตอร์ช่วยสอนควรที่คำนึงเวลาในการผลิตว่า คอมพิวเตอร์ช่วยสอนที่ได้          มาตรฐานนั้นต้องใช้เวลาเท่าไร 

วันอาทิตย์ที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2556

7 ขั้นตอนการออกแบบบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน

 1. กำหนดเป้าหมายและวัตถุประสงค์ (Determine Goals and Objectives)
 คือการตั้งเป้าหมายว่าผู้เรียนจะสามารถใช้บทเรียนนี้เพื่อศึกษาในเรื่องใดและลักษณะใด กล่าวคือ เป็นบทเรียนหลักเป็นบทเรียนเสริม เป็นแบบฝึกหัดเพิ่มเติมหรือแบบทดสอบ รวมทั้งการนำเสนอเป้าหมายและวัตถุประสงค์ในการเรียน เราจะต้องทราบพื้นฐานของผู้เรียนที่เป็นกลุ่มเป้าหมายเสียก่อน เพราะความรู้พื้นฐานของผู้เรียนมีอิทธิพลต่อเป้าหมายและวัตถุประสงค์ของการเรียน
   
- รวบรวมข้อมูล (Collect Resources) หมายถึง การเตรียมพร้อมทางด้านของเอกสารสนเทศ (Information) ทั้งหมดที่เกี่ยวข้อง 
   
เนื้อหา (Meterials) ได้แก่ ตำรา หนังสือ เอกสารทางวิชาการ หนังสืออ้างอิง สไลด์ภาพต่างๆ
แบบสร้างสถานการณ์จำลอง เพื่อใช้สำหรับการเรียนรู้ หรือทดลองจากสภาพการณ์จำลองจากสถานการณ์จริง ซึ่งอาจจะหาไม่ได้หรืออยู่ไกลไม่สามารถนำเข้ามาในห้องเรียนได้ หรือมีสภาพอันตราย หรืออาจสิ้นเปลืองมากที่ต้องใช้ของจริงซ้ำ ๆ สามารถใช้สาธิตประกอบการสอนใช้เสริมการสอนในห้องเรียน หรือใช้ซ่อมเสริมภายหลังการเรียนนอกห้องเรียน ที่ใด เวลาใด ก็ได้ 
  
 - การพัฒนาและออกแบบบทเรียน (Instructional Development) คือ หนังสือการออกแบบบทเรียน กระดาษวาดสตอรี่บอร์ด สื่อสำหรับการทำกราฟิก โปรแกรมประมวลผลคำ เป็นต้น
   - สื่อในการนำเสนอบทเรียน (Instructional Development System) ได้แก่ การนำเอ
คอมพิวเตอร์สื่อต่างๆ มาใช้งาน
  
 - เรียนรู้เนื้อหา (Learn Content) เช่น การสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญ การอ่านหนังสือหรือ
เอกสาอื่นๆ ที่เกี่ยวกับเนื้อหาบทเรียน ถ้าไม่มีการเรียนรู้เนื้อหาเสียก่อนก็ไม่สามารถออกแบบบทเรียนที่มีประสิทธิภาพได้
 
 - สร้างความคิด (Generate Ideas) คือ การระดมสมองนั่นเอง การระดมสมองหมายถึง 
การกระตุ้นให้เกิดการใช้ความคิดสร้างสรรค์เพื่อให้ได้ข้อคิดเห็นต่างๆ เป็นจำนวนมาก
      
  2. ขั้นตอนการออกแบบบทเรียน (Design Instruction) 
ขั้นตอนการออกแบบบทเรียนเป็นขั้นตอนที่สำคัญที่สุดขั้นหนึ่งในการกำหนดว่าบทเรียนจะออกมามีลักษณะใด
  - ทอนความคิด (Elimination of Ideas) 
  - วิเคราะห์งานและแนวความคิด (Task and Concept Analysis)
  - ออกแบบบทเรียนขั้นแรก (Preliminary Lesson Description)
  - ประเมินและแก้ไขการออกแบบ (Evaluation and Revision of the Design) 
 
 3. ขั้นตอนการเขียนผังงาน (Flowchart Lesson) 
เป็นการนำเสนอลำดับขั้นโครงสร้างขอคอมพิวเตอร์ช่วยสอน ผังงานทำหน้าที่เสนอข้อมูลเกี่ยวกับโปรแกรม เช่น อะไรจะเกิดขึ้นเมื่อผู้เรียนตอบคำถามผิด หรือเมื่อไหร่จะมีการจบบทเรียน และการเขียนผังงานขึ้นอยู่กับประเภทของบทเรียนด้วย
 
4. ขั้นตอนการสร้างสตอรี่บอร์ด (Create Storyboard)
 เป็นขั้นตอนการเตรียมการนำเสนอข้อความ ภาพ รวมทั้งสื่อใน รูปแบบมัลติมีเดียต่างๆ ลงบนกระดาษเพื่อให้การนำเสนอข้อความและรูปแบบต่างๆ เหล่านี้เป็นไปอย่างเหมาะสมบน หน้าจอคอมพิวเตอร์ต่อไป

5. ขั้นตอนการสร้างและการเขียนโปรแกรม (Program Lesson) 
เป็นกระบวนการเปลี่ยนแปลสตอรีบอร์ดให้กลายเป็นคอมพิวเตอร์ช่วยสอน ส่วนนี้จะต้องคำนึงถึงฮาร์ดแวร์ ลักษณะและประเภทของบทเรียนที่ต้องการสร้าง โปรแกรมเมอร์และงบประมาณ
6. ขั้นตอนการประกอบเอกสารประกอบบทเรียน (Produce Supporting Materials)
 เอกสารประกอบบทเรียนอาจแบ่งออกได้เป็น 4 ประเภท คือ คู่มือการใช้ของผู้เรียน คู่มือการใช้ของผู้สอน คู่มือสำหรับแก้ปัญหาเทคนิคต่างๆ และเอกสารประกอบเพิ่มเติมทั่วๆ ไป ผู้เรียนและผู้สอนย่อมมีความต้องการแตกต่างกัน คู่มือจึงไม่เหมือนกัน คู่มือการแก้ปัญหาก็จำเป็นหากการติตตั้งมีความสลับซับซ้อนมาก

7. ขั้นตอนการประเมินผลและแก้ไขบทเรียน (Evaluate and Revise) 
บทเรียนและเอกสารประกอบทั้งหมดควรที่จะได้รับการประเมิน โดยเฉพาะการประเมินการทำงานของบทเรียน ในส่วนของการนำเสนอนั้นควรจะทำการประเมินก็คือ ผู้ที่มีประสบการณ์ในการออกแบบมาก่อนในการประเมินการทำงานของบทเรียนนั้น ผู้ออกแบบควรที่จะสังเกตพฤติกรรมของผู้เรียนหลังจากที่ได้ทำการเรียนจากคอมพิวเตอร์ช่วยสอนนั้นๆ แล้ว โดยผู้ที่เรียนจะต้องมาจากผู้เรียนในกลุ่มเป้าหมาย ขั้นตอนนี้อาจจะครอบคลุมถึงการทดสอบนำร่องการประเมินผลจากผู้เชี่ยวชาญได้
ในการประเมินการทำงานของบทเรียนนั้นผู้ออกแบบควรที่จะสังเกตพฤติกรรมของผู้เรียนหลังจากที่ได้ทำการเรียนจากคอมพิวเตอร์ช่วยสอนนั้นๆ แล้ว โดยผู้ที่เรียนจะต้องมาจากผู้เรียนในกลุ่มเป้าหมาย ขั้นตอนนี้อาจจะครอบคลุมถึงการทดสอบนำร่องการประเมินผลจากผู้เชี่ยวชาญได้

วันเสาร์ที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2556

องค์ประกอบและส่วนประกอบ ของ CAI

องค์ประกอบของบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
             
          โดยทั่วไปบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนจะมีองค์ประกอบหลักที่คล้ายคลึงกัน ประกอบไปด้วย ข้อความ ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว เสียง และการเชื่อมโยงแบบปฏิสัมพันธ์

ข้อความ
                เป็นตัวอักษร ตัวเลข หรือเครื่องหมายเว้นวรรคที่มีแบบหลากหลาย มีความแตกต่างกันทั้งขนาด สี และรูปแบบของตัวอักษร สามารถส่งเสริมหรือเป็นข้อจำกัดในการแสดงข้อความได้ ดังนั้นการนำเสนอเนื้อหาจะไม่สามารถยึดติดกับรูปแบบของตัวอักษรใดๆ เพราะตัวอักษรแบบหนึ่งอาจเหมาะสมในการใช้เป็นหัวเรื่อง ในขณะที่อีกแบบหนึ่งสามารถใช้อธิบายเนื้อหาได้อย่างดี เพราะมีความชัดเจน อ่านง่าย

เสียง
               เสียงที่ใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์มี 3 ชนิด คือ เสียงพูด เสียงดนตรี และเสียงประกอบ เสียงพูดเป็นเสียงการบรรยาย หรือเสียงจากการสนทนาที่ใช้ในบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน สำหรับเสียงดนตรีใช้เป็นท่วงทำนองของเสียงเครื่องดนตรีต่างๆ และเสียงประกอบ ช่วยในการสร้างความเข้าใจแก่ผู้เรียนได้มากยิ่งขึ้น ส่วนเสียงประกอบ จะช่วยให้ผู้เรียนเข้าใจเนื้อหาที่นำเสนอได้อย่างรวดเร็วยิ่งขึ้น

ภาพนิ่ง
                คือ ภาพถ่าย ภาพลายเส้น โดยที่ภาพถ่ายอาจเป็นภาพขาวดำ หรือสีอื่นๆก็ได้ อาจมี 2 มิติ หรือ 3 มิติ โดยขึ้นอยู่กับความสามารถของเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้ ในบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนนั้นมีภาพนิ่งเป็นองค์ประกอบสำคัญ เพราะมนุษย์ได้รับอิทธิพลมาจากกรับรู้ด้วยภาพเป็นอย่างดี

ภาพเคลื่อนไหว
                ช่วยส่งเสริมการเรียนรู้ในเรื่องการเคลื่อนที่และการเคลื่อนไหว ที่ไม่สามารถอธิบายได้ด้วยตัวอักษร หรือภาพเพียงไม่กี่ภาพ ภาพเคลื่อนไหวมีคุณลักษณะเด่นในการช่วยเร้าความสนใจของผู้เรียนได้ ทั้งการเคลื่อนไหว (Animation) ที่เปลี่ยนตำแหน่งและรูปทรงของภาพ และการเคลื่อนที่ (Moving) ที่เปลี่ยนเฉพาะตำแหน่งหน้าจอ แต่ไม่ได้เปลี่ยนรูปทรงของภาพ

การเชื่อมโยงแบบปฏิสัมพันธ์
                คือ การรับรู้ข้อมูลที่เป็นตัวอักษร โดยใช้โปรแกรมเชื่อมโยงที่เรียกว่า Hypermedia ส่วนโปรแกรมเชื่อมโยงที่เรียกว่า Hyper graphic จะทำการอธิบายข้อมูลเพิ่มเติมด้วยภาพ วิธีการนี้ผู้เรียนจะใช้เมาส์ชี้คลิกส่วนใดส่วนหนึ่งขอจอภาพ เช่น ที่ภาพปุ่ม ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว หรือบนตัวอักษร ข้อมูลก็จะปรากฏให้เห็น นอกจากนี้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนยังมีลักษณะเด่นที่สามารถให้ข้อมูลย้อนกลับ (Feedback) เพื่อตอบสนองหรือมีปฏิสัมพันธ์กับผู้เรียนได้ทันที ในส่วนผู้ออกแบบและพัฒนาโปรแกรมควรพิจารณาให้โอกาสผู้เรียนในการตอบคำถามอย่างเหมาะสม เช่น ถ้าผู้เรียนตอบผิดซ้ำๆ มากเกินไปจะทำให้ผู้เรียนขาดแรงจูงใจ ส่วนการให้ข้อมูลย้อนกลับเพื่อเพิ่มแรงจูงใจ อาจทำได้โดยใช้คำกล่าวชมเมื่อผู้เรียนเลือกคำตอบได้ถูกต้อง แต่ควรอยู่ในระดับที่เหมาะสมเช่นกัน

ส่วนประกอบในการจัดทำบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
                
การจัดทำบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนจะต้องมีการวางแผน โดยคำนึงถึงส่วนประกอบดังต่อไปนี้

บทนำเรื่อง (Title)
                เป็นส่วนแรกของบทเรียน ช่วยกระตุ้น เร้าความสนใจให้ผู้เรียนอยากติดตามเนื้อหาในส่วน
                ต่อไป

คำชี้แจงบทเรียน (Instruction)
                เป็นส่วนแนะนำ อธิบายความคาดหวังของบทเรียน

รายการเมนูหลัก (Main Menu)
                เป็นส่วนแสดงหัวเรื่องย่อยของบทเรียนที่จะให้ผู้เรียนศึกษา

แบบทดสอบก่อนเรียน (Pre-Test)
                เป็นส่วนประเมินความรู้ขั้นต้นของผู้เรียน เพื่อดูว่าผู้เรียนมีความรู้พื้นฐานในระดับใด

เนื้อหาบทเรียน (Information)
                เป็นส่วนสำคัญที่สุดของบทเรียน โดยนำเสนอเนื้อหาส่วนที่จะนำเสนอ

แบบทดสอบท้ายบทเรียน (Post Test)
                เป็นส่วนที่จะนำเสนอเพื่อทำการตรวจสอบ วัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียน

บทสรุปและการนำไปใช้งาน (Summary – Application)
                เป็นส่วนที่ใช้สรุปประเด็นสำคัญต่างๆ ที่จำเป็น และยกตัวอย่างในการนำไปใช้งาน

วันศุกร์ที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2556

Articles 1: The Difficulties and Challenges of Teachers' Integrating Computer Assisted Instruction into Teaching

ความยากและความท้าทายของครูในการใช้
คอมพิวเตอร์ช่วยสอน


Difficulties: 1.คอมพิวเตอร์ไม่เพียงพอ 2.การเพริกเฉยของผู้บริหาร 3.ความเชื่อของครูแบบเก่าๆ 4.ความสามารถในการใช้คอมพิวเตอร์ของครู 5.ภาระงานของครู 6.ความสามารถในการใช้คอมพิวเตอร์ของผู้เรียน 7.การสนับสนุนของรัฐบาล

Challenges:1.จัดหาคอมพิวเตอร์ให้เพียงพอ 2.สร้างนวัฒกรรมใหม่ๆ 3.พัฒนาปรับปรุงความสามารถในการใช้คอมพิวเตอร์ 4.เข้าร่วมประชุม สัมมนา 5. ลดภาระงานครู 6.ประเมิณตนเอง 7. ร้องขอการสนับสนุนจากรัฐบาล

ประวัติย่อของการใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอนภาษา
แบ่งออกเป็น 3 ยุค คือ 1. Behaviorist CALL 2. Communicative
 3. Integrative CALL

1. Behaviorist CALL (1960 and 1970)
เน้น drill and practice method, repetitions language drills, vocabulary drills, brief grammar explanations and drills, and translation tests at various intervals

2. Communicative CALL (1970s and early 1980s)
CALL was used as a tutor gave students more choices, control and integration

3. Integrative CALL (last 1980s and early 1990s)
Multimedia computer and Internet was aimed to integrate the four skills (listening, speaking, writing and reading) ให้นักเรียนเรียนรู้จากสื่อจริง

What are trends in educational technology?
1.คอมพิวเตอร์มีอยู่ในโรงเรียนและการศึกษาระดับสูง นักเรียนสามารถเข้าถึงคอมได้อย่างทั่วถึง
2.การเข้าถึงแหล่งข้อมูลไกลๆเหมือนกันได้ทั้งโลก
3.เทคโนโลยีสำหรับการศึกษามีเพิ่มขึ้นทั้งในบ้านและสังคม
4.ครูต้องใช้เทคโนโลยีได้
5.เครือข่ายเป็นวิธีการที่เร็ว
6.การสนับสนุนให้ใช้เทคโนโลยี
7.ระบบการส่งต่อข้อมูล เผยแผ่การศึกษาเพิ่มมากขึ้น
8.เทคโนโลยีเป็นเครื่องมือหลักที่จะขับเคลื่อนไปยังการปฎิรูปการศึกษา

What are the principles and factors for applying technology into education?
การประยุกษ์ใช้คอมพิวเตอร์ในการเรียนการสอนต้องมีหลักการและปัจจัยดังต่อไปนี้
1. การกระตุ้น : ดึงดูดความสนใจของผู้เรียน, กระตุ้น ควบคุมความเข้าใจของนักเรียน ส่งเสริมให้นักเรียนมีส่วนร่วนในการเรียนการสอน
2. หน้าที่หลักของการสอน: ช่วยให้นักเรียน ค้นพบปัญหาและวิธีแก้, เพื่อตามการเรียนรู้ของผู้เรียน, ช่วยให้นักเรียนเชื่อมต่อข้อมูลและแหล่งข้อมูล
3. ส่งเสริมกลวิธีการสอนใหม่ๆ: การทำงานกลุ่ม, กระจายความเก่ง Multiple intelligent , ช่วยให้ผู้เรียนมีวิธีแก้ปัญหา
4.ส่งเสริมชิ้นงานของครู: จัดการกับภาระงานที่หนัก, ประหยัดเวลาในการสร้างหลักสูตร

What is the study like?
Enhance English abilities and communicative skills. Producing multimedia materials, Using power point introduce traditional in Taiwan.
1. ให้นักเรียนแบ่งกลุ่ม กลุมละ 4-5 คน
2. ครูให้หัวข้อพิเศษ ให้นักเรียนไปเที่ยวตามสถานท่องเที่ยวเปิดCD Romเพื่อกระตุ้นผู้เรียน
3. ครูอธิบายให้นักเรียนทราบถึงการหาข้อมูลแสดงกระบวนการทำงานให้นักเรียนดู
4. สมาชิกในแต่ละกลุ่มรับผิดชอบงานของตัวเอง พูดคุยเกี่ยวกับงานด้วยกัน ช่วยกันแก้ปัญหา อภิปรายกลุ่ม
5. ถ่ายภาพและวีดีโอ เพิ่มบท ใส่ effect ใส่เพลง เตรียมตัวนำเสนอ
6. นักเรียนไปเที่ยวลงพื้นที่ สัมภาษณ์ เก็บรวบรวมข้อมูล และบันทึกความคิดเห็นต่างๆเก็บไว้
7. สมาชิกในแต่ละกลุ่มจะโพสงานลงใน e-learning campus
8. สมาชิกในแต่ละกลุ่มนำเสนองานโดยใช้ วีดิโอ และ เพาเวอร์พ้อย
9. ครูและนักเรียนตรวจงานและให้คะแนนร่วมกัน โดยจะดูงานจาก introduction, contents, pictures, recommendation, summary of the topic

         นักเรียนในแต่ละกลุ่มจะต้องบรรยายความยากลำบากและความท้าทายที่ได้เผชิญมา ท้ายสุดของการนำเสนอ ต้องมีคำถามมาถามเพื่อน 3-4 คำถาม เพื่อนที่ฟังเราก็ต้องมีคำถาม และครูก็จะให้ข้อเสนอแนะ

What are the difficulties of applying CAI to teaching?

1. วัสดุอุปกรณ์ไม่พร้อมและไม่เพียงพอ: ผู้บริหารและผู้ดูแลระบบไม่มีเวลามาช่วย
2. การให้ความสำคัญจากผู้บริหาร: ผู้บริหารไม่สนับสนุน
3. ความเชื่อด้านการสอนของครู: มีอิทธิผลต่อการเรียนของผู้เรียน
4. ความสามารถในการใช้คอมของครู: ต้องได้รับการส่งเสริมและสนับสนุน ครูต้องใช้คอมเก่ง
5. ภาระงานที่เยอะของครู:  ในการออกแบบหลักสูตรและสร้างสือ
    อีกปัญหาก็คือ นักเรียนบางคนขี้เกรียจ ยากที่ครูจะควบคุมการจัดการชั้นเรียนได้เช่น นักเรียน chatting on web-site, playing games, or doing their private matters in class
6. ความสามารถในการใช้คอมของนักเรียน:  ส่วนมากนักเรียนจะชอบนำข้อมูลมาจากการ copied and posted บางตรั้งก็ไม่ได้จัดเรียง บางครั้งก็ให้คนอื่นทำให้ ต้องเพิ่มความสามารถในการใช้คอมพิวเตอร์ให้นักเรียนอย่างเร่งด่วน

What are the solutions for the problems of applying CAI to teaching?

1. ให้การสนับสนุน
2. เพิ่ม Concept และความเชื่อของครู
3. เติมเต็มความสามารถในการใช้คอมพิวเตอร์ของครูและนักเรียน
4. ลดภาระงานของครู
5. ทำการประเมินตนเอง



           ............................................................................................................


วันพฤหัสบดีที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2556

Articles 2: Computer Assisted Language Learning and English Language Teaching in Thailand

การประยุกต์ใช้คอมพิวเตอร์ในการเรียนรู้ภาษา และ การสอนภาษาอังกฤษในประเทศไทย

This paper is focuses on using CALL in English classroom 
in Thailand.


         ภาษาอังกฤษเป็นภาษานานาชาติ และมีบทบาทสำคัญในการติดต่อสื่อสารของทุกประเทศ ในประเทศไทยภาษาอังกฤษ เป็นภาษาหลักในการสอนภาษาต่างประเทศในโรงเรียนและสถาบันต่างๆ ภาษาอังกฤษสำหรับผู้เรียนไทย จะมีการทดสอบความสามารถของผู้เรียนคือ การสอบ ทดสอบ
ความสามารถทางภาษาอังกฤษ เช่น การสอบ ONET, GAT, TOEFL, TOEIC การสอนภาษาอังกฤษในประเทศไทยเป็นกระบวนการที่ล้าช้า ดังนั้น นักการศึกษา ครูและผู้ที่เกี่ยวข้องก็ต้อง พัฒนาหลักสูตร และให้ความสำคัญกับการสอนภาษาอังกฤษในประเทศไทย เพราะในปัจจุบัน ความสามารถในการใช้คอมพิวเตอร์และการศึกษาทางด้านเทคโนโลยีได้มีอิทธิผลต่อ การติดต่อสื่อสารในชีวิตประจำวัน ในปัจจุบัน CDs, Video ต้องใช้ทักษะทางด้านคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยี                  

          ในประเทศไทย, การประยุกษ์ใช้คอมพิวเตอร์ในการสอนภาษาอังกฤษได้นำมาใช้ในห้องเรียนภาษาเพื่อที่จะปรับปรุงการเรียนรู้ภาษาอังกฤษให้ประสบผลสำเร็จ

The Development of Computer Assisted Language Learning 
( CALL )

CALL  > Emergence > mid 1950s


CALI focus on a teacher-centered approach


CALL focuses on learning


Warschauer and Healey > categorized CALL > tree teaching methodologies domainant

       1. Behavioristic CALL > audio -lingual method >repettitive languagedrills and practice activities
       2. Communicative CALL > using the language function, language skill practice
       3. Integrative CALL >  communicative approach > integrating 4 skills into the tasks

Advantages and Disadvantages of CALL in Language Learning

    
           Advantages  >  authenticity of the input, alignment with the output hypothsis, provide learners with the kinds of information and support that they require to complete individual tasks and respond to the diversity of learner needs even within a single classroom structure, theoretical framework, learner- centered
         Disadvantages >  CALL need to be informed about the options of the implementation and application of CALL and how CALL can be integrated into thai teaching situation

Educational CALL Programs and ELT in Thailand


> Tutorial Programs, Drill and Practices, Demonstration, Simulation, Games and Testing


- Tutorial Programs are responsible for collecting, presenting and guiding information, teaching rules, as well as teaching problem- solving techniques to students.


- Drill and Practices is to review the content background knowledge and to assist students to master their language skills such as reading, listening, etc.



Demonstration teaching and learning through computer based instruction is very helpful with self- directed learning.


- Games are used to provide a rich learning and teaching environment.


- Testing is a tool for assessment and a method to determine what students know and do not know. 





Studies on CALL in the Thai Context

These studies conducted in Thai context have congruently emphasized the importance of CALL and teaching English in four macro skills.
- Reading skill = Thongtua (2008) developed CALL reading comprehension program
Torut & Torut (2002) designed and developed a multimedia CALL material for graduate students.
Banditvilai (2000) discovered that learners increased their motivation when they used the Internet as an integral part of reading courses.
- Speaking skill = Yangklang (2006) used a CALL program to investigate the improvement of English pronunciation
Kaewphaitoon(2003) developed an English language learning computer application.
- Writing skill = Intratat (2009) developed a self-access CALL material to improve English writing skills for Thai undergraduate students.
Gubtapol (2002) explored what editing strategies Thai student commonly used and how they used their strategies with word processing programs to improve their English writing.
- Listening skill = Shen et al. (2007) using websites for practicing listening skill. Puakpong (2005) developed CALL listening comprehension program.


Conclusion           
        CALL has emerged as a tempting alternative to traditional modes of supplementing or replacing direct student-teacher interaction. CALL programs can play in language classrooms as an important teaching aid or tool of instruction. For Thai learners, they need to be able to continuously use, experiment and evaluate appropriate and meaningful CALL activities to enhance English proficiency and master English language skills which is the goals of language learning.