องค์ประกอบของบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
โดยทั่วไปบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนจะมีองค์ประกอบหลักที่คล้ายคลึงกัน
ประกอบไปด้วย ข้อความ ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว เสียง และการเชื่อมโยงแบบปฏิสัมพันธ์
ข้อความ
เป็นตัวอักษร ตัวเลข หรือเครื่องหมายเว้นวรรคที่มีแบบหลากหลาย
มีความแตกต่างกันทั้งขนาด สี และรูปแบบของตัวอักษร
สามารถส่งเสริมหรือเป็นข้อจำกัดในการแสดงข้อความได้
ดังนั้นการนำเสนอเนื้อหาจะไม่สามารถยึดติดกับรูปแบบของตัวอักษรใดๆ
เพราะตัวอักษรแบบหนึ่งอาจเหมาะสมในการใช้เป็นหัวเรื่อง ในขณะที่อีกแบบหนึ่งสามารถใช้อธิบายเนื้อหาได้อย่างดี
เพราะมีความชัดเจน อ่านง่าย
เสียง
เสียงที่ใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์มี 3
ชนิด คือ เสียงพูด เสียงดนตรี และเสียงประกอบ เสียงพูดเป็นเสียงการบรรยาย
หรือเสียงจากการสนทนาที่ใช้ในบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน สำหรับเสียงดนตรีใช้เป็นท่วงทำนองของเสียงเครื่องดนตรีต่างๆ
และเสียงประกอบ ช่วยในการสร้างความเข้าใจแก่ผู้เรียนได้มากยิ่งขึ้น
ส่วนเสียงประกอบ จะช่วยให้ผู้เรียนเข้าใจเนื้อหาที่นำเสนอได้อย่างรวดเร็วยิ่งขึ้น
ภาพนิ่ง
คือ ภาพถ่าย ภาพลายเส้น
โดยที่ภาพถ่ายอาจเป็นภาพขาวดำ หรือสีอื่นๆก็ได้ อาจมี 2 มิติ หรือ 3 มิติ
โดยขึ้นอยู่กับความสามารถของเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้
ในบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนนั้นมีภาพนิ่งเป็นองค์ประกอบสำคัญ
เพราะมนุษย์ได้รับอิทธิพลมาจากกรับรู้ด้วยภาพเป็นอย่างดี
ภาพเคลื่อนไหว
ช่วยส่งเสริมการเรียนรู้ในเรื่องการเคลื่อนที่และการเคลื่อนไหว
ที่ไม่สามารถอธิบายได้ด้วยตัวอักษร หรือภาพเพียงไม่กี่ภาพ
ภาพเคลื่อนไหวมีคุณลักษณะเด่นในการช่วยเร้าความสนใจของผู้เรียนได้
ทั้งการเคลื่อนไหว (Animation) ที่เปลี่ยนตำแหน่งและรูปทรงของภาพ
และการเคลื่อนที่ (Moving) ที่เปลี่ยนเฉพาะตำแหน่งหน้าจอ
แต่ไม่ได้เปลี่ยนรูปทรงของภาพ
การเชื่อมโยงแบบปฏิสัมพันธ์
คือ
การรับรู้ข้อมูลที่เป็นตัวอักษร โดยใช้โปรแกรมเชื่อมโยงที่เรียกว่า Hypermedia ส่วนโปรแกรมเชื่อมโยงที่เรียกว่า Hyper
graphic จะทำการอธิบายข้อมูลเพิ่มเติมด้วยภาพ
วิธีการนี้ผู้เรียนจะใช้เมาส์ชี้คลิกส่วนใดส่วนหนึ่งขอจอภาพ เช่น ที่ภาพปุ่ม
ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว หรือบนตัวอักษร ข้อมูลก็จะปรากฏให้เห็น
นอกจากนี้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนยังมีลักษณะเด่นที่สามารถให้ข้อมูลย้อนกลับ (Feedback)
เพื่อตอบสนองหรือมีปฏิสัมพันธ์กับผู้เรียนได้ทันที
ในส่วนผู้ออกแบบและพัฒนาโปรแกรมควรพิจารณาให้โอกาสผู้เรียนในการตอบคำถามอย่างเหมาะสม
เช่น ถ้าผู้เรียนตอบผิดซ้ำๆ มากเกินไปจะทำให้ผู้เรียนขาดแรงจูงใจ
ส่วนการให้ข้อมูลย้อนกลับเพื่อเพิ่มแรงจูงใจ อาจทำได้โดยใช้คำกล่าวชมเมื่อผู้เรียนเลือกคำตอบได้ถูกต้อง
แต่ควรอยู่ในระดับที่เหมาะสมเช่นกัน
ส่วนประกอบในการจัดทำบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
การจัดทำบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนจะต้องมีการวางแผน
โดยคำนึงถึงส่วนประกอบดังต่อไปนี้
บทนำเรื่อง (Title)
เป็นส่วนแรกของบทเรียน
ช่วยกระตุ้น เร้าความสนใจให้ผู้เรียนอยากติดตามเนื้อหาในส่วน
ต่อไป
คำชี้แจงบทเรียน (Instruction)
เป็นส่วนแนะนำ
อธิบายความคาดหวังของบทเรียน
รายการเมนูหลัก (Main Menu)
เป็นส่วนแสดงหัวเรื่องย่อยของบทเรียนที่จะให้ผู้เรียนศึกษา
แบบทดสอบก่อนเรียน (Pre-Test)
เป็นส่วนประเมินความรู้ขั้นต้นของผู้เรียน
เพื่อดูว่าผู้เรียนมีความรู้พื้นฐานในระดับใด
เนื้อหาบทเรียน (Information)
เป็นส่วนสำคัญที่สุดของบทเรียน
โดยนำเสนอเนื้อหาส่วนที่จะนำเสนอ
แบบทดสอบท้ายบทเรียน (Post Test)
เป็นส่วนที่จะนำเสนอเพื่อทำการตรวจสอบ วัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียน
บทสรุปและการนำไปใช้งาน (Summary – Application)
เป็นส่วนที่ใช้สรุปประเด็นสำคัญต่างๆ ที่จำเป็น และยกตัวอย่างในการนำไปใช้งาน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น